วัดทุ่งเซียด

สภาพฐานะและที่ตั้งวัด        

          วัดทุ่งเซียด  ตั้งอยู่เลขที่ 41 บ้านทุ่งเซียด ถนน พุนพิน - พระแสง หมู่ 1 ตำบล ท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 30 ไร่ ส.ค.1 เลขที่ 169 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2410  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2512 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 29 เมตร ยาว 39 เมตร 

        อาณาเขต              ทิศเหนือ          จดคลองเซียด

                                ทิศใต้              จดทางสาธารณะ

                                ทิศตะวันออก     จดพรุน้ำ

                                ทิศตะวันตก       จดทางสาธารณะ

ประวัติความเป็นมา

          เดิมเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกแล้วก็เก็บเอาของมีค่าไปพร้อมทั้งเผาวัด ทำให้ไม่มีหลักฐานอะไรเหลืออยู่ คงเหลือแต่ซากอิฐปรักหักพัง เช่น เสาหงส์ เป็นต้น วัดทุ่งเซียด ก่อตั้งมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2410 เคยมีโบสถ์ไม้กลางน้ำที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยศรีวิชัยเมื่อ 500 ปีก่อน ได้ผุพังไปตาลกาลเวลา มีหลักฐานหลงเหลืออยู่เพียงแค่เสาไม้ของโบสถ์โบราณที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเพียงต้นเดียว พระครูสารโสตถิคุณ รองเจ้าคณะอำเภอพุนพิน เจ้าอาวาสวัดทุ่งเซียด จึงได้นำขึ้นมาไว้บนบก และเริ่มมีความคิดที่จะสร้างโบสถ์กลางน้ำทดแทนโบสถ์หลังเดิม เพื่อให้ลูกหลานได้รับทราบถึงประวัติความเป็นมาของการสร้างโบสถ์ และเพื่อเป็นการสืบสานพระพุทธศาสนา โดยโบสถ์หลังใหม่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 มาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่แล้วเสร็จ ด้วยต้องใช้ปัจจุยจำนวนมากในการก่อสร้าง ซึ่งได้มาจากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

             สำหรับรูปแบบการก่อสร้างจะออกมาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยสร้างเป็นเรือลำใหญ่บรรทุกโบสถ์หลังสีขาว ส่วนหัวเรือจะหันไปทางทอศตะวันออกและส่วนท้ายเรือจะสร้างพระบรมธาตุไชยาจำลองไว้ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในยุคอาณาจักรศรีวิชัย ทางเข้าโบสถ์จะมี 2 ทาง โดยมีรูปปั้น พญาช้างดำ ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของพ่อท่านเซียด(อดีตเจ้าอาวาส) เป็นช้างขนาดใหญ่ ตามตำนานกล่าวว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางฝ่าเท้า กว้าง 1 เมตร ถือว่าเป็นช้างสาร และมีรูปปั้นพญานาคบริเวณทางเข้าโบสถ์ทั้ง 2 ทาง และทั้งสี่มุมของโบสถ์จะมีมหาเทพประดิษฐานอยู่ทั้ง 4 มุม ทั้งยังได้นำเสาเดิมของโบสถ์เก่าขึ้นมาไว้เพื่อสักการะบูชาและช่อฟ้าไม้โบราณ อายุ 500 ปี ที่ยังหลงเหลืออยู่ นำมาเก็บรักษาเอาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา

 

ทรัพย์สิน

  •           อุโบสถ กว้าง 8.50 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2510 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  •           ศาลาการเปรียญ กว้าง 24 เมตร ยาว 32เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2538 เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว
  •           กุฏิสงฆ์  จำนวน 13 หลัง เป็นอาคารไม้ 10 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้  2 หลัง และตึก 1 หลัง 
  •           ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 14 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2515
  •           ศาลาบำเพ็ญกถศล  จำนวน 1 หลัง 

          นอกจากนี้ยังมี ฌาปณสถาน หอระฆัง โรงครัว เรือนเก็บพัสดุ และเรือนรับรอง 

 

ปูชนียวัตถุ 

          1.พระประธานประจำอุุโบสถ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก กว้าง 85 นิ้ว สูง 109 นิ้ว

          2.พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 81 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.2543 

 

ลำดับเจ้าอาวาสจากอดีต - ปัจจุบัน

 เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม มีดังนี้

  1.  พระเซียด      พ.ศ. 2410 - 2425 
  2.  พระรวย       พ.ศ. 2427 - 2436
  3.  พระพัฒน์     พ.ศ.2437 -2438 
  4.  พระสน        พ.ศ.2439 - 2441
  5.  พระแดง       พ.ศ. 2442 - 2473
  6.  พระเกษม     พ.ศ.2474 - 2483
  7.  พระแดง      พ.ศ.2484 - 2493
  8.  พระบุญ       พ.ศ.2497 - 2503
  9.  พระดำ        พ.ศ.2504 - 2512
  10.  พระครูสมุห์ติ้ง  สจฺจวาโร     พ.ศ.2513 2525 
  11.  พระครูสังฆรักษ์  ประสงค์    พ.ศ.2526 - 2531
  12. พระครูสารโสตถิคุณ            พ.ศ.2532 - ปัจจุบัน              

 

        

ข้อมูล : ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 23, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาพ : หัสยา  พันธุ์มณี        

วีดีโอ : หัสยา  พันธุ์มณี


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image วิดีโอ

image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 396,248