วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

 

สภาพฐานะและที่ตั้งวัด        

          วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 50 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1525 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 1530

          อาณาเขต          ทิศเหนือ          จดถนนหลวง

                                ทิศใต้              จดคลองไชยา

                                ทิศตะวันออก     จดถนน

                                ทิศตะวันตก       จดคลองไชยา

ประวัติความเป็นมา

          จากโบราณวัตถุโบราณสถานที่ยังปรากฏอยู่ ทราบได้ว่า วัดนี้มีมาแล้วหลายยุคหลายสมัย เกิดขึ้นแล้วร้างไป แล้วกลับฟื้นฟูมาใหม่ สามารถแยกเป็นสมัยๆ ได้ดังนี้

          สมัยทราวดี          ดูจากพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคน ระหว่าง พ.ศ. 2000 - 1200

          สมัยศรีวิชัย          ดูจากองค์พระเจดีย์พระบรมธาตุแบบสมัยศรีวิชัย หรือแบบอินโดชวานิสในทางโบราณคดี ระหว่าง พ.ศ. 1200 - 1600

          สมัยสุโขทัย          ดูจากใบพัทธเสมาคู่แฝดปรากฏอยู่รอบๆ เขตพระอุโบสถเดิมของวัด

          สมัยกรุงศีอยุธยา    ดูจากพระพุทธรูปศิลาทรายแดง ซึ่งมีอยู่มากมาย ขนาดโตกว่าธรรมดา

          สมัยธนบุรี            ดูจากศิลาจารึกในวัดอื่นที่ใกล้ๆ กัน แสดงถึงการทะนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนาในถิ่นนี้ทั่วๆ ไป

          สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจว่าถูกพวกพม่าข้าศึกทำลายไปในรัชกาลที่ 1 ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้ทำการฟื้นฟูและบูรณะขึ้นใหม่ และบูรณะตกแต่งของเดิมให้คงสภาพ   ที่ดีขึ้น และสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาใหม่แทนที่ชำรุดทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะขึ้นใหม่ได้ โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เจ้าคณะเมืองไชยา ระหว่าง พ.ศ.2435 - 2444 การบูรณะได้สืบเนื่องมาเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2500

ทรัพย์สิน

          วัดพระธาตุตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งสิ้น 42 ไร่ 1 งาน

          ที่ธรณีสงฆ์มีทั้งหมด 3 แปลง แปลงที่ 1 - 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 3 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา และแปลงที่ 3 อยู่ที่ตำบล    โมถ่าย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน

          ปูชนียวัตถุ และถาวรวัตถุที่สำคัญของวัดมีดังนี้

          พระอุโบสถ สร้างเสร็จ พ.ศ. 2501 รูปทรงไทย เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างตรงแนวบริเวณพระอุโบสถเดิมแต่ขยายส่วนให้ยาวกว่าเดิม เสมาคู่ที่เรียงรายรอบ        พระอุโบสถเป็นของสมัยสุโขทัย ภายในพระอุโบสถหลังนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันตกต่างจากพระอุโบสถอื่นที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพราะว่าเมื่อกราบพระประธานแล้ว  จะได้กราบพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในพระบรมธาตุไชยาด้านหลังไปด้วยพร้อมๆ กัน

          พระวิหารกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระบรมธาตุ สร้างยื่นล้ำเข้าไปในเขตพระวิหารคด ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระชยาภิวัฒน์ พ.ศ. 2444  ภายหลังชำรุดได้สร้างขึ้นใหม่ในที่เดิม เมื่อ พ.ศ. 2502 รูปทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก คงไว้แต่พระพุทธรูปและฝาผนังหลังพระพุทธรูปเท่านั้น

          พระเจดีย์พระบรมธาตุไชยา เป็นพุทธเจดีย์สมัยศรีวิชัย สร้างตามลัทธิมหายาน ประมาณ พ.ศ. 1300 เป็นพระเจดีย์ที่ก่อสร้างด้วยอิฐ ลงรักปิดทองทั้งองค์ ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารหลวง ล้อมรอบด้วยวิหารคดทั้ง 4 ด้าน ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจตุรมุข ส่วนยอดแบ่งเป็น 3 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปยอดเจดีย์เป็นองค์ระฆังลักษณะรูป 8 เหลี่ยม ตั้งอยู่บนรูปดอกบัวขนาดใหญ่ ลงรักปิดทองลวดลายสวยงามยิ่ง นับว่าเป็นบูชนียวัตถุอันสำคัญยิ่งของวัดนี้และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

          นอกจากนี้ ก็มีศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ต่างๆ เป็นต้น

การศึกษาและการสาธารณสงเคราะห์

          วัดพระบรมธาตุไชยามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม 1 แห่ง

 

 

        

ข้อมูล : ประวัติพระอารามหลวง

ภาพ :  นายธีระวัฒน์ สุขเมือง    

วีดีโอ : หัสยา  พันธุ์มณี


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image วิดีโอ

image
image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 514,722